Disclaimer: ข้อมูลทั้งหมดใน blog นี้ มิได้หวังผลในเชิงการค้าแต่อย่างใดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ ตราบใดที่มีการอ้างอิงต้นฉบับ และแจ้งให้สมาชิกของประชาคมทราบว่าขอนำไปใช้ที่ใด ห้ามผู้อื่นนำไปข้อความในเว็บนี้ไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อเขียน โปรดติดต่อกันเองระหว่างผู้ขอใช้และผู้เขียน การเสนอความเห็น ขอให้ใช้ภาษาที่สุภาพและเขียนอยู่ในเนื้อเรื่อง หากท่านพบข้อความที่ไม่เหมาะสม โปรดแจ้งลบพร้อมอธิบายเหตุผลด้วย

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Basic vi Command

วันนี้คิดถึงสมัยเรียนปริญญาตรีเลยมานั่งเขียนความรู้เกี่ยวกับ Basic vi Command สนุกๆ เล่นดีกว่า เริ่มเลยนะครับ โดยปกติแล้วหลังจากที่เราติดตั้งระบบปฏิบัติการ Unix, Linux ก็จะมีโปรแกรมบรรณาธิกรมาให้อยู่ตัวหนึ่งนั่นก็คือ vi ซึ่งย่อมาจาก (Visual Editor) ซึ่งโปรแกรมจำพวกนี้ก็จะมีหลากหลายตัวนะครับ เช่น emacs, nano หรือ pico ซึ่งคล้ายๆ กับการใช้งาน notepad หรือ editplus บน Windows แต่ที่ผมถนัดใช้เลยก็เห็นจะเป็น vi นี่แล่ะครับ เพราะใช้มันมาตั้งแต่สมัยเรียน


vi เป็น full screen editor ซึ่งการทำงานจะมีสองโหมด คือ
1. command mode ซึ่งหากพิมพ์อะไรในโหมดนี้ก็จะเป็นคำสั่งที่ดำเนินการบนโปรแกรมทั้งสิ้น
2. insert mode เป็นโหมดที่ใช้เพิ่ม แก้ไข เนื้อหาหรือข้อมูลในไฟล์
เราสามารถเข้าสู่ insert mode โดยการกด i และกลับสู่ command mode โดยกด Esc ครับ

เริ่มใช้งานกันเลย...
เราสามารถเปิด text file เพื่อเข้าไปสร้างหรือแก้ไขข้อความโดยใช้คำสั่ง vi แล้วตามด้วย filename

$vi example.txt

เมื่อต้องการจะออกจาก vi...
หลังจากที่เราเข้าไปจัดการเขียนหรือแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้วหากเราต้องการจะออกจากโปรแกรม vi ก็อย่าลืมนะครับว่าเราจะต้องกลับเข้าสู่ command mode ซะก่อนโดยกด Esc ซึ่งวิธีดูว่าเราอยู่ command mode หรือไม่นั้นให้เราดูที่ cursor ก็ได้ครับ หากอยู่ command mode เจ้า cursor จะอยู่ด้านล่างของจอเมื่อเรากด colon (:) ครับ โดยคำสั่งที่ใช้ออกจาก vi มีดังนี้

:wq = บันทึกข้อมูลที่ได้เขียนหรือแก้ไขในไฟล์นั้นๆ แล้วออกจากโปรแกรม
:q = ออกจากโปรแกรม
:q! = ออกจากโปรแกรมโดยไม่บันทึกข้อมูลในส่วนที่เพิ่มเติมหรือแก้ไขในไฟล์นั้นๆ

การเลื่อน cursor...
ในโปรแกรม vi แท้ๆ นั้นจะไม่สามารถใช้ลูกศรเลื่อน cursor ได้เหมือนกับโปรแกรม editor ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากทำงานบน Unix แท้ๆ แล้วนั้นจะต้องใช้ command mode ในการเลื่อน cursor เท่านั้น โดย key ที่ใช้ในการเลื่อน cursor มีดังนี้

j = เลื่อนลง 1 บรรทัด
k = เลื่อนขึ้น 1 บรรทัด
h = เลื่อนไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร
l = เลื่อนไปทางขวา 1 ตัวอักษร
0 = เลื่อนไปยังตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดปัจจุบัน
$ = เลื่อนไปยังตำแหน่งสุดท้ายของบรรทัด
:0 = เลื่อนไปยังบรรทัดแรกของไฟล์
:ตัวเลข = ไปยังบรรทัดของตัวเลขนั้นๆ
:$ = ไปยังบรรทัดสุดท้าย

ยังมีอีกเยอะเลย นี่เพิ่งแค่เริ่มต้น เดี๋ยวว่างๆ จะมาพิมพ์ต่อนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น