ห่างหายจากการเขียน blog ไปนานนะครับ วันนี้กลับมาเขียน แต่จะขอเขียนเรื่องราวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ IT โดยตรง แต่เกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เราสื่อสารกันนะครับ สืบเนื่องมาจากวันนี้ได้ติดตามข่าวคราวว่ามีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเป็นห่วงเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ และให้นับเป็นวาระแห่งชาติ ผมก็เห็นด้วยนะครับ
คำว่า "ภาษาวิบัติ" เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับมาตรฐานตามหลักภาษาซึ่งเกิดจากการมิได้ตั้งใจทำให้รูปแบบการใช้งานของภาษาผิดไปจากเดิม แต่ในปัจจุบันการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Network) เช่น facebook และ twitter โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งาน twitter นั้นผู้ให้บริการจะกำหนดจำนวนตัวอักษรที่จะส่งข้อความขึ้นเว็บได้เพียง 140 ตัวอักษร จึงทำให้ผู้ใช้งานซึ่งโดยส่วนมากแล้วเป็นกลุ่มวัยรุ่นจะใช้ข้อความที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาษาไทยวิบัติอย่างรุนแรงในปัจจุบัน เรามาดูตัวอย่างภาษาไทยที่มักจะมีการใช้งานผิดๆ กันในเครือข่ายสังคมกันนะครับ ซึ่งมีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา
- นู๋ (หนู)
- ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)
- ว้าววว (ว้าว)
- ป่าว (เปล่า)
การลดรูปคำ
เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด
- มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย)
- วิดวะ (วิศวกรรม)
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์
- ไม่ → ม่าย
- ใช่ → ช่าย
- ใคร → คราย
- อะไร → อาราย
- เป็นอะไร → เปงราย
- ทำไม → ทามมาย
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ
หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์
- กู → กรู
- ไอ้สัตว์ → ไอ้สาด
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ภาษาไทยผิดๆ ซึ่งยังไม่รวมถึงการใช้คำศัพท์บัญญัติใหม่ของกลุ่มวัยรุ่นที่มีอีกค่อนข้างมาก เช่น เกรียน, ติ่งหู, เมพ, กาก ฯลฯ ซึ่งหากเรายังใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาต่อไปนั้นเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า วัยรุ่นยุคใหม่อาจไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ข้อมูลอ้างอิง: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น